Blog นี้เกิดจากความตั้งใจที่อยากจะเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา EA บน Platform MT4 โดยจัดทำให้สามารถศึกษาได้โดยไม่มีความรู้พื้นฐานมาก่อนเลยก็ตาม โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่เริ่มศึกษาการเขียน EA หรือ Robot อัตโนมัติในการเทรดผลิตภัณฑ์ในตลาด Forex

By Polar Bear Fishing Investment (PBFI)

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โครงสร้างของ EA

สวัสดีครับ คราวนี้เราจะมาเริ่มศึกษาการเขียน EA จิงๆจังๆกันแล้วนะครับ
เริ่มต้นด้วยเปิด EA เมื่อคราวที่แล้วของเราขึ้นมาบน MetaEditor
ทีนี้เราจะพบกับฟังก์ชั่นหลักๆ 3 ฟังก์ชั่น คือ

1. int init()
2. int deinit()
3. int start()




ตรงลูกศรแดงๆหน้าตาแบบนี้เราจะเรียกว่าฟังก์ชั่นนะครับ

โดยฟังก์ชั่นแต่ละตัวทำหน้าที่ดังนี้
Init() : เราสามารถเริ่มต้นการทำงานของตัวแปรต่างๆในฟังก์ชั่นนี้ โดยฟังก์ชั่นนี้จะทำงานเพียงครั้งเดียวคือเมื่อเริ่มต้นการทำงานของ EA เท่านั้น
Deinit() : ฟังก์ชั่นนี้จะทำการล้างค่าตัวแปรต่างๆทั้งหมดให้กลับไปสู่ค่าเริ่มต้นอีกครั้ง โดยฟังก์ชั่นนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อเราเปลี่ยน Timeframe เปลี่ยน Pair หรือถอด EA ออกจากกราฟ
Start() : เป็นฟังก์ชั่นที่เรากำหนดการทำงานของ EA ให้เป็นไปอย่างที่ต้องการ เราอยากจะให้ EA ทำงานอย่างไรก็จะเขียนลงไปบนฟังก์ชั่นนี้นั่นเอง โดยฟังก์ชั่นนี้จะทำงานตลอดเวลาตามรอบ tick ของกราฟ หรือ 1ครั้ง/tick จนกว่าเราจะปิดการทำงานของ EA

ลำดับการทำงานก็จะเป็นแบบภาพด้านบนนะครับ

เมื่อเราต้องการให้ EA  ของเราทำงานนั้นเราจะใส่ คำสั่งและตัวแปรต่างๆ ลงใน ฟังก์ชั่น init(), start() ตรงใต้ปีกกา "{...}"ตามภาพด้านล่างนะครับ


จากที่ดูๆมาจะพบว่ารูปที่ผมนำมาใส่นั้นเป็นผลผลิตมาจากการตัดแปะโปรแกรม Paint ซึ่งต้องขออภัยด้วยเนื่องจากผมไม่มีความสามารถด้านตกแต่งภาพเลยจริงๆ ฮ่าๆ(หัวเราะกลบเกลื่อน)

เอาล่ะทีนี้คำสั่งและตัวแปรที่เราจะนำมาใส่คืออะไรและมีอะไรบ้าง เราจะเอามาให้ทุกท่านได้ชมในตอนหน้า ไว้เจอกันสวัสดีครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น